เมนู

25 โกฏฐาส (ส่วน) รูป 2 อย่างคือ เตโชธาตุ และกพฬิงการาหาร เท่านั้น
ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น แม้ในอรูป (คือนามธรรม) เล่า ธรรมคือจิตและเจตนากรรม
2 เท่านั้นย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น. ในบรรดารูปธรรมและนามธรรมเหล่านั้น รูป
เป็นสภาพทุรพลในอุปาทขณะ และภังคขณะ เป็นสภาพมีกำลังในขณะตั้งอยู่
เพราะฉะนั้น รูปที่มีกำลังนั้นจึงให้รูปตั้งขึ้นในขณะแห่งการตั้งอยู่ (ฐีติขณะ).
จิตเป็นสภาพทุรพลในขณะตั้งอยู่. (ฐิติขณะ) และในภังคขณะ มีกำลังใน
อุปาทขณะทีเดียว เพราะฉะนั้น จิตนั้นจึงยังรูปให้ตั้งขึ้นในอุปาทขณะเท่านั้น.
เจตนากรรมดับไปแล้วจึงเป็นปัจจัยได้. เพราะกรรมที่บุคคลกระทำไว้แล้ว
ในอดีตแม้ในที่สุดแสนโกฏิกัปก็เป็นปัจจัยในบัดนี้ได้ กรรมที่ทำในบัดนี้ก็จะ
เป็นปัจจัยในอนาคตแม้ในที่สุดแสนโกฏิกัปแล.
พึงทราบขันธ์ 5 โดยการเกิดก่อนและหลังดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าโดยกำหนดกาลของขันธ์ 5


คำว่า โดยกำหนดกาล นี้ ถามว่า รูปตั้งอยู่นานเท่าไร อรูป
(นาม) ตั้งอยู่นานเท่าไร ? ตอบว่า รูปมีการเปลี่ยนแปลงนาน ดับก็ช้า
อรูป (นาม) เปลี่ยนแปลงเร็ว ดับก็รวดเร็ว เมื่อรูปยังคงทรงอยู่นั่นแหละ
จิตเกิดดับไป 16 ดวง ก็แต่ว่ารูปนั้นจะดับพร้อมกับจิตดวงที่ 17 เปรียบ
เหมือนบุรุษคิดว่า เราจักให้ผลไม้ตก จึงเอาไม้ค้อนฟาดกิ่งไม้ผลทั้งหลาย
และใบทั้งหลายก็พึงหลุดจากขั้วพร้อมกันทีเดียว บรรดาผลและใบเหล่านั้น
ผลทั้งหลายย่อมตกถึงดินก่อนกว่า เพราะความที่ผลเป็นของหนัก ใบทั้งหลาย
ก็พึงตกไปในภายหลัง เพราะความเป็นของเบา ฉันใด ความปรากฏแห่งรูป-
ธรรมและอรูปธรรมในขณะเดียวกันในปฏิสนธิ ดุจเวลาที่ใบและผลทั้งหลาย
หลุดจากขั้วในขณะเดียวกันโดยการฟาดด้วยไม้ค้อน ฉันนั้นเหมือนกัน การที่

รูปยังทรงอยู่นั่นแหละจิตก็เกิดดับไป 16 ดวงดุจการที่ผลตกลงสู่พื้นดินก่อนกว่า
เพราะความที่ผลเป็นของหนัก การที่รูปดับพร้อมกับจิตดวงที่ 17 ดุจการที่ใบ
ตกไปถึงพื้นดินในภายหลัง เพราะความที่ใบทั้งหลายเป็นของเบา.
บรรดารูปและจิตเหล่านั้น ถึงรูปดับช้าเปลี่ยนแปลงนาน จิตดับเร็ว
เปลี่ยนแปลงเร็วก็จริง ถึงอย่างนั้น รูปละทิ้งอรูป (นาม) แล้วก็ไม่อาจ
เป็นไปได้ หรืออรูปละทั้งรูปแล้วก็ไม่อาจเป็นไปได้ ความเป็นไปของรูปและ
อรูปแม้ทั้ง 2 มีประมาณเท่ากันทีเดียว ในข้อนี้พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้.
บุรุษคนหนึ่งมีเท้าสั้น คนหนึ่งมีเท้ายาว เมื่อคนทั้ง 2 นั้นเดินทาง
ร่วมกัน คนเท้ายาวก้าวเท้าครั้งหนึ่ง คนเท้าสั้นนอกนี้จะก้าวเท้าไป 16 ก้าว
ในการก้าวไปครั้งที่ 16 ของคนเท้าสั้น คนเท้ายาวก็จะชักเท้าของตนดึงมา
กระทำท้าวให้ก้าวไปพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้ แม้คนหนึ่งก็ไม่อาจเลย
คนหนึ่งไปได้ การไปของคนแม้ทั้ง 2 จึงชื่อว่า มีประมาณเท่ากันนั่นแหละ
ฉันใด ข้ออุปไมยนี้พึงเห็นฉันนั้น. ด้วยว่า อรูปเหมือนคนเท้าสั้น รูปเหมือน
คนเท้ายาว. เมื่อรูปยังทรงอยู่นั่นแหละ จิตในอรูป (นาม) ธรรมก็เกิดดับ
16 ดวง เหมือนเวลาที่คนเท้ายาวก้าวไปครั้งหนึ่ง คนเท้าสั้นนอกนี้ก้าวไป
16 ครั้ง. การที่รูปดับพร้อมกับจิตดวงที่ 17 เหมือนบุคคลเท้าสั้นชักเท้า
ของตนดึงมา 16 ก้าว บุรุษเท้ายาวก้าวไป 1 ก้าวฉะนั้น การที่อรูปไม่ละรูป
รูปไม่ละอรูปเป็นไปโดยประมาณเท่ากัน เหมือนการที่บุรุษ 2 คน ไม่ทิ้ง
ซึ่งกันและกันเดินไปโดยประมาณพร้อมกันนั่นแหละดังนี้แล.
พึงทราบขันธ์ 5 โดยการกำหนดกาลอย่างนี้.

ว่าโดยเกิดขณะเดียวกันแต่ดับต่างขณะกัน


คำนี้ว่า การเกิดขณะเดียวกัน แต่ดับต่างขณะกัน (ของขันธ์ 5)
นี้ บัณฑิตพึงแสดงเว้นกรรมชรูปดวงสุดท้าย* จริงอยู่ปฏิสนธิเป็นจิตดวงที่
หนึ่ง จิตดวงที่ 2 เป็นภวังค์ ดวงที่ 3 ก็เป็นภวังค์ ฯลฯ ดวงที่ 16 ก็เป็น
ภวังค์. ในบรรดาจิต 16 ดวงเหล่านั้น แต่ละดวงมี 3 ขณะด้วยอำนาจอุปาทขณะ
ฐีติขณะ และภังคขณะ ในขณะแห่งจิตทั้ง 3 เหล่านั้น จิตแต่ละดวงมีกรรมชรูป
เกิดขึ้นขณะละ 30 รูปถ้วน บรรดากรรมชรูปเหล่านั้น กรรมชรูปตั้งขึ้นใน
อุปาทขณะของปฏิสนธิจิตย่อมดับในอุปาทขณะของภวังคจิตดวงที่ 17 ทีเดียว.
กรรมชรูปทั้งขึ้นในฐีติขณะของปฏิสนธิจิตจะดับในฐีติขณะของภวังคจิตดวงที่
17 นั่นแหละ. กรรมชรูปที่ตั้งขึ้นในภังคขณะของปฏิสนธิจิตจะดับในภังคขณะ
ของภวังคจิตดวงที่ 17 นั่นแหละ.
ด้วยอาการอย่างนี้ พึงทำภวังคจิตดวงที่ 2 (ปฏิสนธิจิตเป็นที่ 1)
ประกอบกับจิตดวงที่ 17 ของตน ๆ นั่นแหละแล้วขยายนัยไป. จิต 16 ดวง
มีกรรมชรูปดวงละ 3 รวมกรรมชรูป 48 รูป ด้วยประการฉะนี้. นี้ชื่อว่า
ประเพณี คือ เชื้อสายของกรรมชรูป 48 รูป. ก็ประเพณี คือ เชื้อสายของ
กรรมชรูป 48 รูปนี้นั้นย่อมเป็นไปแม้แก่ผู้กำลังเคี้ยวกิน แม้แก่ผู้บริโภค
แม้แก่ผู้หลับ แม้แก่ผู้ประมาททั้งกลางคืนและกลางวัน เหมือนกระแสแห่ง
แม่น้ำกำลังเป็นไปอยู่ฉะนั้นแล.
พึงทราบความที่ขันธ์ 5 มีการเกิดขณะเดียวกัน ดับต่างขณะกันอย่างนี้.
* กรรมชรูปดวงสุดท้ายนั้น คือ นับกรรมชรูปตั้งแต่ปฏิสนธิจิตไป 17 ขณะจิตภังคขณะของจิต
ดวงนี้ดับพร้อมกับกรรมชรูป (ดูปริเฉท 4 นามวิถีและรูปวิถี)